&&&& เหรียญ พระนิรันตราย วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กทม รุ่นแรก ปี 2488 เนื้อทองแดง ประสบการณ์สูง รับประกันความแท้100 %พร้อมบัตรรับรอง &&&&
โดย inter ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 3 ก.ย. 2554.
&&&& เหรียญ พระนิรันตราย วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กทม รุ่นแรก ปี 2488 เนื้อทองแดง ประสบการณ์สูง รับประกันความแท้100 %พร้อมบัตรรับรอง &&&&
"พระนิรันตราย" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ค้นพบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำรัชกาลองค์หนึ่ง พระ นิรันตราย เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำ มีการค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2399
ตามประวัติกล่าวไว้ว่า กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เมืองปราจิณบุรี ท่านฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านกับบุตรชายชื่อนายยังเดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณ 3 เส้น ก็ได้พบพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง ท่านจึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกร กระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรจึงได้พากำนันอินและนายยังเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดฯ ว่า...สองพ่อลูกมีกตัญญูต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน ขุดได้พระทองคำแล้วไม่ทำลาย หรือซื้อขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว แล้วยังมีน้ำใจนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย….จึงทรงพระกรุณาโปรดฯ พระราชทานเงินตราให้เป็นรางวัล และโปรดให้เจ้าพนักงานอัญเชิญพระพุทธรูปทองคำไปประดิษฐาน ณ หอพระเสถียรธรรมปริตคู่กับพระกริ่งทองคำน้อย ในปี พ.ศ.2403
มีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริต ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป เป็นที่น่าแปลกใจที่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า...พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไปแต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง...พระองค์จึงทรงถวายพระนามว่า "พระนิรันตราย" จากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริให้เจ้าพนักงานทำการหล่อ พระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อสวมพระนิรันตรายไว้อีกชั้นหนึ่ง และโปรดฯ ให้หล่อเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์อีกองค์หนึ่งไว้คู่กัน เมื่อพระสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุติมีพระอารามมากขึ้น ในปี พ.ศ.2411 พระองค์จึงทรงโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกันเป็นเนื้อทองเหลือง โดยมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักขระขอมจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 ยอดเรือนแก้วเป็นรูปพระมหามงกุฎ จำนวน 18 องค์เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ เพื่อจะทรงพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามต่างๆ แต่ยังไม่ทันกะไหล่ทอง พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายช่างทำการกะไหล่ทองคำทั้ง 18 องค์ให้แล้วเสร็จ และพระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุติตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนก
ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)
หน้า แสดง - จากทั้งหมด 5723 ประกาศ
|
|
|
1500 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
65,000 บาท |
|
|
|
4,500 |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
14,900 |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
5x,xxx |
|
|
|
พิเศษโทรสอบถาม |
|
|
|
50,000 บาท |
|
|
|
15,000,000 |
|
|
|
17,000 บาท |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
111,111 |
|
|
|
โทรสอบถาม |
|
|
|
โทรถาม |
|
|
|
1,000 บาท |
|
|
|
15,900 |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |